ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน

ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน
ดอกไม้ประจำชาติพม่า
ดอกไม้ประจำชาติพม่า คือ ดอกประดู่ (Padauk)
ดอกประดู่ เป็นดอกไม้ที่เกิดจากต้นประดู่ มีชื่อเรียกอื่นๆหลายชื่อ เช่น ประดู่อังสนา ดู่ป่า อะนอง และ ดู่ เป็นต้น ต้นประดู่เป็นไม้ยืนต้นขนาดค่อนข้างใหญ่ โดยเมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงราว 10-20 เมตร เป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกสีเทาถึงดำ มักแตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มหนาขนาดใหญ่ ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง
ดอกประดู่ เป็นดอกไม้ขนาดเล็กรวมกันอยู่เป็นช่อ มักออกบริเวณปลายกิ่ง ดอกประดู่มีสีเหลืองทองสวยงาม ออกดอกในช่วงเดือนเมษายน หรือช่วงก่อนฤดูฝนของทุกปี ช่าวพม่านิยมใช้ดอกประดู่ในงานมงคลและการบูชาพระ โดยชาวพม่าให้ความหมายของดอกประดู่ไว้ว่า ดอกประดู่เปรียบเสมือนความคงทน และความแข็งแรง
ดอกไม้ประจำชาติเวียดนาม
ดอก Lotus หรือ ดอกบัว เป็นดอกไม้ที่ชาวเวียดนามถือว่าเป็น 1 ใน 4 ของพันธุไม้ที่มีความสง่างาม ซึ่งประกอบไปด้วย ต้นสน ต้นไผ่ และต้นเบญจมาศ ดอกบัวเป็นที่รูจักในนาม “ดอกไม้แห่งรุ่งอรุณ” สำหรับชาวเวียดนามแล้วดอกบัวคือสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความผูกพัน และการมองโลกในแง่ดี ความสง่างามของดอกบัวมักถูกกล่าวถึงในบทกลอนและเพลงพื้นเมืองของประเทศเวียดนาม ดอกบัวพบได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำของประเทศเวียดนาม
ดอกไม้ประจำชาติไทย
ดอกไม้ประจำชาติไทย คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ที่มีสีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบานแล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็นสัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกันดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความเชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนาและความ รุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเป็นสัญลักษณ์แห่งความสามัคคีปรองดองของคนในชาติอีกด้วย โดยดอกราชพฤกษ์จะเบ่งบานในช่วงเดือนกุมภาพันธ์–พฤษภาคม มีจุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบออกจนหมดต้น เหลือไว้เพียงแค่สีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์เท่านั้น
ดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์
 ดอกไม้ประจำชาติสิงคโปร์ คือ ดอกแวนด้ามิสโจควิม (Vanda Miss Joaquim) เป็นกล้วยไม้ลูกผสมในตระกูลแวนด้า โดยตั้งชื่อตาม Angnes Jaquim ผู้ค้นพบ ดอกแวนด้ามิสโจควิมนี้ นอกจากความสวยงามแล้ว ยังมีคุณลักษณะที่พิเศษคือ มีความแข็งแรง คงทน ดอกบานตลอดปี ซึ่งก็เปรียบได้กับความเจริญก้าวหน้าที่ยั่งยืน ยาวนาน และเปรียบถึงความมั่นคงของชีวิต ด้วยลักษณะดังกล่าว จึงถูกรับเลือกให้เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศสิงคโปร์ ในวันที่ 15 เมษายน ปี 1981  โดยในการคัดเลือกดอกไม้ประจำชาติในครั้งนั้น มีดอกไม้ที่ถูกนำมาคัดเลือกถึง 40 ชนิด อีกทั้งกล้วยไม้อีก 30 ชนิดด้วยกัน
ดอกไม้ประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์
ดอก Sampaguita Jasmine หรือดอกพุดแก้ว เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ตั้งแต่ปี 1934 ดอก Sampaguita มีกลีบดอกรูปดาวสีขาวที่บานตลอดทั้งปี โดยจะแย้มดอกในตอนกลางคืนและส่งกลิ่นหอมประมาณหนึ่งวัน สำหรับประชาชนชาวฟิลิปปินส์ ดอกไม้ชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความเรียบง่าย ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความเข้มแข็ง การผลิบานของดอก Sampaguita ถูกนำมาเฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่าและบทเพลงของประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีความเชื่อว่าดอกไม้ชนิดนี้มีที่มาจากแถบ Himalaya ในศตวรรษที่ 17
ดอกไม้ประจำชาติมาเลเซียดอกพู่ระหง
ดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย คือ ดอกชบาแดง หรือ ดอกพู่ระหง หรือ ดอกบุหงารายอ (Bunga Raya)
ดอกบุหงารายอ หรือ ดอกพู่ระหง หรือ ดอกชบาแดง เป็นดอกของต้นชะบา ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ทรงพุ่มขนาดเล็ก เนื้อไม้อ่อน หักง่าย มีความสูงตั้งแต่ 1-2.5 เมตร มีใบเป็นใบเดี่ยวเรียงกันอยู่ตามกิ่งก้าน ใบเป็นวงรีและเว้าเป็นแฉก ขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบติดตา ทาบกิ่ง และปักชำ
ส่วนดอกของชบาหรือบุหงารายอนั้น มีลักษณะที่ดูเผินๆคล้ายดอกกุหลาบ มีกลีบดอก 5 กลีบ สีแดงสดสวยงาม เรียงกันอยู่โดยรอบฐานดอก มีก้านเกสรยาวพ้นกลีบดอกออกมาเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนเกสรจะมีสีเหลืองคนมาเลเซียเชื่อว่าดอกชบาสีแดง จะช่วยสร้างความสมัครสมานสามัคคีของคนในชาติ ช่วยให้มีความเป็นปึกแผ่น รวมถึงเป็นดอกไม้ที่มีความสวยงามและสง่างามในเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้เป็นสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย ดังนั้นดอกชบาจึงถูกยกให้เป็นดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย
ดอกไม้ประจำชาติลาว
“ดอกจำปา” หรือ ดอกลั่นทม หรือ “ดอกลีลาวดี” (Champa) เป็นไม้ดอกยืนต้นในสกุล Plumeria เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและสีสันหลากหลาย เช่น สีชมพู สีเหลือง สีแดง หรือสีโทนอ่อนต่างๆ ไม่เฉพาะเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงสีขาวเท่านั้น โดยดอกจำปาลาวนั้นเป็นตัวแทนของความสุขและความจริงใจ จึงนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายพิธีสำคัญต่างๆ อีกทั้งยังใช้ทำเป็นพวงมาลัยต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองที่สำคัญ ดอกจำปาจะบานทุกวันและอยู่ได้นาน จึงนิยมปลูกอย่างแพร่หลายและเห็นได้ชัดเจนโดยเฉพาะในบริเวณวัด
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) ดอกกล้วยไม้ราตรี
                 ดอกกล้วยไม้ราตรี Moon Orchid หรือ กล้วยไม้ราตรี เป็นกล้วยไม้ในสายพันธุ์ Phalaenopsis amabilis ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของดอกไม้ประจำชาติอินโดนีเซีย โดยดอกไม้ประจำชาติที่เหลือ คือ ดอก Jasmin-num sambacและดอก Rafflesia arnoldii ดอก Moon Orchid เป็นหนึ่งในบรรดาดอกกล้วยไม้ที่บานนานที่สุด โดยช่อดอกสามารถแตกกิ่งและอยู่ได้นานถึง 2-6 เดือน โดยปกติดอก Moon Orchid จะบาน 2-3 ครั้งต่อปี ก่อนจะโตเต็มที่ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงมักพบทั่วไปในที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย
ดอกกล้วยไม้ราตรีสามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงพบเห็นได้ง่ายในพื้นที่ราบต่ำของประเทศอินโดนีเซีย
ดอกไม้ประจำชาติกัมพูชา
               ดอกลำดวน เป็นดอกไม้ที่เกิดจากต้นลำดวน โดยที่ต้นลำดวนเป็นไม้ยืนต้นขนาดไม่ใหญ่มาก เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูง 5–10 เมตร เป็นไม้ที่มีแก่น เปลือกด้านนอกของลำต้นมีลักษณะเรียบและมีสีเทา มีใบแบบใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามข้อและลำต้น ลักษณะของใบจะมีผิวเรียบมัน ยาวรีเหมือนรูปหอกดอกลำดวน
ดอกลำดวน เป็นดอกไม้ขนาดเล็กสีเหลืองอ่อนหรือสีขาวอมเหลือง เป็นดอกที่ออกแบบเดี่ยวไม่ได้ออกเป็นช่อ โดยดอกจะออกมากตามส่วนยอด ปลายกิ่ง และบริเวณง่ามใบ ดอกลำดวนมีกลีบดอก 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นชั้นสวยงาม มีปลายกลีบแหลมงุ้มเข้าหากัน มีกลิ่นหอมละมุน ลำดวนจะออกดอกมากในช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคมของทุกปี
ดอกลำดวนนอกจากจะเป็นดอกไม้ประจำชาติกัมพูชาแล้ว ยังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษของไทยอีกด้วย
ดอกไม้ประจำชาติบรูไน 
                  ดอกส้านชะวา เกิดจากต้นไม้ที่ชื่อว่าต้นส้านชะวา ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่จะสูงประมาณ 10 เมตร มีเปลือกไม้สีม่วงดำ มีใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกันบนกิ่งก้าน ใบมีขนาดค่อนข้างใหญ่คือกว้างราว 10 ซม. และยาว 30 ซม. มีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปวงรี มีผลขนาดเล็ก ทรงกลมแป้นคล้ายมะนาวและส้ม แต่มีขนาดเล็กกว่า กล่าวคือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ชม. เมื่อสุกจะมีสีส้มถึงแดง
ดอกส้านชะวาเป็นดอกไม้สีเหลืองสดใส ออกดอกเป็นช่อ 5-10 ดอกต่อช่อ มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เมื่อโตเต็มที่จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 ซม.มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบซ้อนกันคล้ายร่ม ดอกซ้านชวาถือว่าเป็นดอกไม้ประจำถิ่นของบรูไน และสามารถพบได้ในประเทศมาเลเซียด้วย ประเทศบรูไนนิยมนำดอกส้านชะวามาใช้ตกแต่งในงานมงคลต่างๆ รวมถึงในธนบัตรหรือเงินของบรูไนและงานศิลปะประเภทต่างๆอีกด้วย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น